วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

12 พระองค์ แห่ง เขาโอลิมปัส


เทพปกรณัมกรีก เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก และจุดกำเนิดและความสำคัญของวิถีปฏิบัติและพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่กล่าวถึงเรื่องปรัมปราและศึกษาในความพยายามที่จะอธิบายสถาบันทางศาสนาและการเมืองในกรีซโบราณ อารยธรรม และเพิ่มความเข้าใจของธรรมชาติในการสร้างตำนานขึ้น[1]
เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลกและรายละเอียดของชีวิต รวมทั้งการผจญภัยของบรรดาเทพ เทพี วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้สืบทอดโดยบทกวีจากปากต่อปากเท่านั้น ในปัจจุบัน ตำนานกรีกได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวรรณกรรมกรีกเป็นส่วนใหญ่
วรรณกรรมกรีกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือ มหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ ซึ่งจับเรื่องราวเหตุการณ์ในระหว่างสงครามเมืองทรอย นอกจากนี้มีบทกวีมหากาพย์ร่วมสมัยอีกสองชุดของเฮสิโอด คือ Theogony และ Works and Days เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก การสืบทอดของจอมเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ ยุคของมนุษย์ กำเนิดศัตรูของมนุษย์ และพิธีบูชายัญต่างๆ เรื่องเล่าปรัมปรายังพบได้ในบทเพลงสวดสรรเสริญของโฮเมอร์ จากเสี้ยวส่วนหนึ่งของบทกวีมหากาพย์ Epic Cycle จากบทเพลง จากงานเขียนโศกนาฏกรรมในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากงานเขียนของปราชญ์และกวีในยุคเฮเลนนิสติก และในตำราจากยุคของจักรวรรดิโรมันที่เขียนโดยพลูตาร์คกับเพาซานิอัส
งานค้นพบของนักโบราณคดีเป็นแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดของเทพปกรณัมกรีก เพราะมีภาพของเทพและวีรบุรุษกรีกมากมายเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภาพเรขาคณิตบนเครื่องโถในยุคศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลแสดงให้เห็นฉากต่างๆ ในมหากาพย์เมืองทรอย รวมไปถึงการผจญภัยของเฮราคลีส ในยุคต่อๆ มาเช่น ยุคอาร์เคอิก ยุคคลาสสิก และยุคเฮเลนนิสติก ก็พบภาพฉากเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์และตำนานปรัมปราอื่นๆ ซึ่งช่วยเพิ่มเติมแก่หลักฐานทางวรรณกรรมที่มีอยู่[2]
เทพปกรณัมกรีกมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณกรรมของอารยธรรมตะวันตก รวมถึงมรดกและภาษาทางตะวันตกด้วย กวีและศิลปินมากมายนับแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันได้รับแรงบันดาลใจจากเทพปกรณัมกรีก และได้คิดค้นนัยยะร่วมสมัยกับการตีความใหม่ที่สัมพันธ์กับตำนานปรัมปราเหล่านี้[3]เทพปกรณัมกรีกซึ่งรู้จักกันอยู่ทุกวันนี้ มีรากฐานมาจากวรรณกรรมกรีกและภาพในสื่อที่มองเห็นด้วยตาซึ่งมีอายุนับย้อนไปถึงยุคจีโอเมทริก(Geometric Style) ประมาณปีที่ 900-800 ก่อนคริสตกาล[4]

[แก้]แหล่งข้อมูลจากวรรณกรรม


โปรมีธูส (ภาพวาดปี 1868 โดย กุสตาฟ โมเรอ) ผู้บันทึกตำนานโปรมีธูสครั้งแรกคือ เฮสิโอด และต่อมาเป็นรากฐานของบทละครโศกนาฏกรรมไตรภาค ซึ่งคาดว่าเป็นของ Aeschylus ได้แก่ Prometheus Bound,Prometheus Unbound, และ Prometheus Pyrphoros
เรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานปรัมปรามีบทบาทอย่างมากกับวรรณกรรมกรีกในทุกสาขา ถึงกระนั้น หนังสือตำนานปรัมปราเพียงเล่มเดียวที่เหลือรอดมาจากยุคกรีกโบราณ ก็คือ Libraryของอพอลโลดอรัสเทียม งานชิ้นนี้พยายามไกล่เกลี่ยเรื่องราวที่ขัดแย้งกันระหว่างเรื่องเล่าต่างๆ ของบทกวีมากมาย และพยายามเรียบเรียงออกมาเป็นตำนานเทพเจ้าและวีรบุรุษกรีกในยุคดั้งเดิม[5] อพอลโลดอรัสมีชีวิตในช่วงปีที่ 180-120 ก่อนคริสตกาล และเขียนเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นหลายชิ้น งานเขียนของเขาอาจจัดเป็นชุดที่ต่อเนื่องกัน แต่ "Library" นั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของเขาเป็นเวลานาน ดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่าเป็นของอพอลโลดอรัสเทียม
ในบรรดาแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด มีบทกวีมหากาพย์ของโฮเมอร์ 2 เรื่อง คือ อีเลียด และ โอดิสซีย์ มีบทกวีอื่นอีกที่ช่วยเติมเต็ม "วงล้อมหากาพย์" ทว่าในภายหลังต่างสูญหายไปเกือบหมด บทกวีเหล่านี้เรียกชื่อกันว่า "บทสวดของโฮเมอร์" (Homeric Hymns) แต่อันที่จริงไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับโฮเมอร์เลย มันเป็นบทสวดสรรเสริญที่สืบทอดมาแต่ยุคบทเพลง[6] เฮสิโอดซึ่งน่าจะเป็นกวีร่วมสมัยกับโฮเมอร์ ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับตำนานกรีกที่เก่าแก่ที่สุดไว้ในผลงานชื่อ Theogony (กำเนิดปวงเทพ) โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างโลก กำเนิดของเทพต่างๆ ตลอดถึงบรรดาทายาทผู้สืบตระกูลท้งหลาย มีนิทานพื้นบ้าน และตำนานเกี่ยวกับจุดกำเนิดของสิ่งต่างๆ ในงานเขียนของเฮสิโอดอีกเรื่องคือ Works and Days ซึ่งเป็นบทกวีสั่งสอนเกี่ยวกับชีวิตในไร่ ได้รวมเอาตำนานเกี่ยวกับโปรมีธูส แพนดอรา และยุคทั้งสี่ของมนุษยชาติเอาไว้ด้วย ผู้ประพันธ์ได้แนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการประสบความสำเร็จในโลกอันแสนอันตราย ซึ่งยิ่งถูกทำให้เป็นอันตรายมากขึ้นโดยพวกเทพนั่นเอง[2]
บทกวีแบบเพลงมักจะนำเนื้อเรื่องมาจากตำนาน แต่วิธีการเล่าจะมีเนื้อหาน้อยกว่าและค่อนข้างคลุมเครือกว่า กวีเพลงของกรีกซึ่งรวมไปถึง PindarBacchylidesSimonides และกวีชาวบ้านเช่นTheocritus และ Bion มักรวมเอาเหตุการณ์เหนือธรรมชาติของแต่ละคนเข้าไปด้วย[7] นอกจากนี้ ตำนานยังเป็นศูนย์กลางของกิจการละครยุคคลาสสิก นักเขียนบทละครโศกนาฏกรรม เช่น Aeschylus,Sophocles, และ Euripides ใช้พล็อตเรื่องส่วนใหญ่จากตำนานในยุคแห่งวีรบุรุษและสงครามเมืองทรอย เรื่องราวโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ (เช่น อักกะเมมนอนกับลูกๆ, อีดีปุสเจสันเมเดีย, ฯลฯ) ก็มีความคลาสสิกอยู่ภายใต้ความโศกเศร้า Aristophanes นักเขียนบทละครตลกขบขันยังใช้ตำนานเหล่านี้ในงานบทละครเรื่อง The Birds และ The Frogs[8]
นักประวัติศาสตร์ ฮีโรโดตุส และ ดิโอโดรุส ซิคุลุส กับนักภูมิศาสตร์ เปาซาเนีย และ สตราโบ ซึ่งเดินทางไปทั่วแผ่นดินกรีกและบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ยิน ได้ให้ข้อมูลจำนวนมากเกี่ยวกับตำนานและเรื่องเล่าของท้องถิ่น โดยมักจะเป็นเวอร์ชันที่ต่างออกไปและไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก[7] โดยเฉพาะฮีโรโดตุสนั้นเที่ยวค้นหาประเพณีต่างๆ ที่ตนพบเจอและพบรากฐานทางประวัติศาสตร์หรือตำนานปรัมปราอยู่ในการเผชิญหน้าระหว่างกรีกกับประเทศตะวันออก[9] ฮีโรโดตุสพยายามจะนำต้นกำเนิดต่างๆ เหล่านี้ที่มาจากต้นกำเนิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน
บทกวีในยุคเฮเลนนิสติกและยุคโรมันโบราณล้วนมีต้นกำเนิดในฐานะวรรณกรรมมากกว่าที่จะเป็นพิธีกรรมทางศาสนา ถึงกระนั้นมันก็ยังบรรจุรายละเอียดสำคัญมากมาย ซึ่งอาจจะสูญหายไปหมดแล้ว บทกวีจำพวกนี้รวมถึงงานต่างๆ ต่อไปนี้คือ
  1. กวีชาวโรมัน โอวิดสเตเชียสวาเลเรียส ฟลัคคัสเซเนกาผู้เยาว์, และเวอร์จิล กับบทบรรยายของเซอร์วิอุส
  2. กวีชาวกรีกในยุค Late Antique ได้แก่ นอนนัสอันโตนินัส ลิเบราลิส และ ควินตัส สมีเนียส
  3. กวีชาวกรีกในยุคเฮเลนนิสติก ได้แก่ อพอลโลเนียสแห่งโรดส์คัลลิมาคัสเอราทอสเทนีสเทียม, และ พาร์ทีเนียส
  4. นิยายยุคโบราณของกรีกและโรมัน เช่น ApuleiusPetroniusLollianus, และ Heliodorus.

[แก้]สันนิษฐานของที่มาของการเกิดเทวเทพปกรณัมกรีก-โรมัน

อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณพยายามหาคำตอบให้กับตัวเองว่าทำไมฟ้าร้อง ฟ้าผ่า หรือเหตุใดจึงมีเสียงสะท้อนจากถ้ำเมื่อเราส่งเสียง หรือ ฯลฯ นั่นเพราะความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติจึงพยายามหาเหตุผลและชาวกรีกชอบฟังนิทานเรื่องเล่าปรัมปรา, ชอบแต่งโคลงกลอน จึงรักการขับลำนำและดีดพิณคลอไปด้วยจึงทำให้การขับลำนำเป็นที่นิยม เล่ากันว่าโฮเมอร์ (Homer) ก็เป็นนักขับลำนำชั้นยอดคนหนึ่งของกรีก ใคร ๆ ก็รักน้ำเสียงการเล่านิทานของเขา แรกเริ่มเทวตำนานเป็นบทกลอนที่ท่องจำกันมาเป็นรุ่น ๆ ต่อมามีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เราจึงไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้แต่งเทพปกรณัม บ้างก็ว่า โฮเมอร์ เป็นผู้แต่ง อีเลียด (Iliad) บ้างก็ว่าแค่รวบรวม บ้างก็ว่ากวีกรีกนาม เฮซิออด (Hesiod) แต่ง ส่วน โอวิด (Ovid) กวีโรมก็เล่าถึงเทวตำนานแต่ใช้ชื่อตัวละครต่างกัน เล่มของโอวิดจะเล่าได้พิสดารกว่าของนักเขียนคนอื่น


เทพเจ้ากรีก-โรมัน แห่งยอดเขาโอลิมปัส



เทพโอลิมปัส

เทพโอลิมปัส (The Olympians, Major gods) เป็นเทพที่อาศัยบนยอดเขาโอลิมปัส (Olympus) มีทั้งหมด 12 องค์
ไฟล์:Jupiter Versailles Louvre Ma78.jpg
  1. ซุส (Zeus) เป็นราชาของบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายและเหล่ามนุษย์บนโลก ซุสมีอาวุธเป็นอัศนีบาต
  2. โพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเล สัญลักษณ์ของพระองค์คือ “สามง่าม” หรือ “ตรีศูล” เทพผู้เขย่าพื้นพิภพ ผู้บัลดาลให้เกิดพายุ บิดาแห่งม้า
  3. ดิมิเทอร์ (Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรรม การเก็บเกี่ยว
  4. เฮรา (Hera) ราชินีแห่งสวรรค์ เป็นทั้งพี่สาวของซุสและเป็นภรรยาด้วย เฮร่าเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิดทารก การสมรส สตรี สัตว์ประจำพระองค์คือนกยูง
  5. แอรีส (Ares) เทพแห่งสงคราม บุตรของ ซูส กับ เฮร่า สัตว์ประจำพระองค์คือเหยี่ยวและสุนัขมังกรไฟ (บางตำราว่าเป็นนกแร้ง) เทพองค์นี้มีเทพที่เป็นน้องสาวชื่อว่า อีริส เธอคือเทพีแห่งการวิวาท
  6. อะพอลโล (Apollo) เทพเจ้าแห่งการทำนาย กีฬา การรักษาโรคภัย การดนตรี และ เป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ เป็นบุตรแห่ง ซูส และ เทพีเลโต (Leto) มีน้องสาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมิส (Artemis) อะพอลโล่มีต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์คือ ต้นลอเรล Laurel สัตว์ศักดิ์สิทธิ์คือนกกาเหว่าและห่าน เครื่องดนตรีประจำพระองค์คือพิณ วิหารศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์อยู่ที่เดลฟี่ (Delphi) ซึ่งที่นั่นจะมีนักบวชคอยบอกคำทำนายของพระองค์ให้แก่ประชาชนที่มาสักการบูชา
  7. อาร์เทมีส (Artemis) เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ เป็นบุตรีของซูสและ เทพีเลโต เป็นน้องสาวแฝดของอะพอลโล่ พระองค์เป็นเทพีพรหมจรรย์องค์หนึ่งใน 3 องค์ ภาพที่ผู้คนเห็นอยู่เสมอๆ คือพระองค์จะถือธนูและศร มีสุนัขติดตาม สวมกระโปรงสั้น บางครั้งอาจเห็นเธออยู่บนรถศึกเทียมด้วยกวางขาว
  8. เฮอร์มีส (Hermes) เทพแห่งการค้า การโจรกรรม และผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ เป็นบุตรของ ซูส กับ เทพธิดาไมอา เทพไททัน พระองค์มักจะปรากฏกายในลักษณะสวมหมวกขอบกว้าง สวมรองเท้ามีปีก ถือคทาที่มีงูพัน ชื่อ คะดูเซียสซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการแพทย์
  9. อาธีน่า (Athena) หรืออีกนามหนึ่ง มิเนอร์วา (Minerva) เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด และศิลปศาสตร์ทุกแขนงของกรีกรวมถึงศิลปะการต่อสู้ด้วย ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์คือต้นมะกอก โดยเทพีอธีน่า เป็นผู้ที่มอบมะกอกให้กับมนุษย์เป็นองค์แรก ทำให้เมืองเอเธนส์ ได้ใช้ชื่อของพระองค์เป็นชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่ นกฮูก
  10. อะโฟรไดต์ (Aphrodite) เทพีแห่งความรักและความงาม เป็นบุตรีของ ซูส กับ เทพีไดโอนี่ (บางตำราว่าเกิดจากฟองคลื่น) สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของเธอได้แก่นกกระจอก นกนางแอ่น ห่าน และเต่า ส่วนดอกไม้และผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระนางได้แก่กุหลาบ และแอปเปิล กล่าวกันว่าพระนางเป็นเทพีผู้คุ้มครองเหล่าโสเภณีด้วย นางได้สมรสกับเฮเฟสทัส เทพแห่งการช่างที่ทีรูปร่างอัปลักษณ์ จึงได้มีสัมพันธ์ชู้สาวกับแอเรส หรือมาร์ส เทพแห่งสงคราม ต่อมาได้มีบุตรชื่อคิวปิด(อิรอส)เทพแห่งความรัก และบุตรคนเล็ก แอนติรอส เทพผู้บันดานให้เกิดความรักตอบ
  11. เฮเฟสตัส (Hephaestus) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง เป็นบุตรของ ซูส กับ เฮร่า (บางตำราว่าเป็นบุตรของเฮราผู้เดียว) พระองค์เป็นเทพที่พิการและอัปลักษณ์
  12. ไดโอนีซุส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ การทำไวน์ และการเก็บเกี่ยวผลไม้ และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งละครอีกด้วย 


    เทพชั้นรอง

    เทพชั้นรอง (Minor gods) เป็นเทพที่ไม่ได้อยู่บนเขาโอลิมปัส มีมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเทพเหล่านี้ต่างก็มีหน้าที่และความสำคัญต่างๆ กันไป อาทิ:
  13. เฮลิออส (Helios)


1 ความคิดเห็น: