วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

12 พระองค์ แห่ง เขาโอลิมปัส


เทพปกรณัมกรีก เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก และจุดกำเนิดและความสำคัญของวิถีปฏิบัติและพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่กล่าวถึงเรื่องปรัมปราและศึกษาในความพยายามที่จะอธิบายสถาบันทางศาสนาและการเมืองในกรีซโบราณ อารยธรรม และเพิ่มความเข้าใจของธรรมชาติในการสร้างตำนานขึ้น[1]
เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลกและรายละเอียดของชีวิต รวมทั้งการผจญภัยของบรรดาเทพ เทพี วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้สืบทอดโดยบทกวีจากปากต่อปากเท่านั้น ในปัจจุบัน ตำนานกรีกได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวรรณกรรมกรีกเป็นส่วนใหญ่
วรรณกรรมกรีกที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกันคือ มหากาพย์ อีเลียด และ โอดิสซีย์ ของโฮเมอร์ ซึ่งจับเรื่องราวเหตุการณ์ในระหว่างสงครามเมืองทรอย นอกจากนี้มีบทกวีมหากาพย์ร่วมสมัยอีกสองชุดของเฮสิโอด คือ Theogony และ Works and Days เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก การสืบทอดของจอมเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ ยุคของมนุษย์ กำเนิดศัตรูของมนุษย์ และพิธีบูชายัญต่างๆ เรื่องเล่าปรัมปรายังพบได้ในบทเพลงสวดสรรเสริญของโฮเมอร์ จากเสี้ยวส่วนหนึ่งของบทกวีมหากาพย์ Epic Cycle จากบทเพลง จากงานเขียนโศกนาฏกรรมในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล จากงานเขียนของปราชญ์และกวีในยุคเฮเลนนิสติก และในตำราจากยุคของจักรวรรดิโรมันที่เขียนโดยพลูตาร์คกับเพาซานิอัส
งานค้นพบของนักโบราณคดีเป็นแหล่งข้อมูลอย่างละเอียดของเทพปกรณัมกรีก เพราะมีภาพของเทพและวีรบุรุษกรีกมากมายเป็นเนื้อหาหลักอยู่ในการตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภาพเรขาคณิตบนเครื่องโถในยุคศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลแสดงให้เห็นฉากต่างๆ ในมหากาพย์เมืองทรอย รวมไปถึงการผจญภัยของเฮราคลีส ในยุคต่อๆ มาเช่น ยุคอาร์เคอิก ยุคคลาสสิก และยุคเฮเลนนิสติก ก็พบภาพฉากเกี่ยวกับมหากาพย์ของโฮเมอร์และตำนานปรัมปราอื่นๆ ซึ่งช่วยเพิ่มเติมแก่หลักฐานทางวรรณกรรมที่มีอยู่[2]
เทพปกรณัมกรีกมีอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณกรรมของอารยธรรมตะวันตก รวมถึงมรดกและภาษาทางตะวันตกด้วย กวีและศิลปินมากมายนับแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันได้รับแรงบันดาลใจจากเทพปกรณัมกรีก และได้คิดค้นนัยยะร่วมสมัยกับการตีความใหม่ที่สัมพันธ์กับตำนานปรัมปราเหล่านี้[3]เทพปกรณัมกรีกซึ่งรู้จักกันอยู่ทุกวันนี้ มีรากฐานมาจากวรรณกรรมกรีกและภาพในสื่อที่มองเห็นด้วยตาซึ่งมีอายุนับย้อนไปถึงยุคจีโอเมทริก(Geometric Style) ประมาณปีที่ 900-800 ก่อนคริสตกาล[4]

[แก้]แหล่งข้อมูลจากวรรณกรรม


โปรมีธูส (ภาพวาดปี 1868 โดย กุสตาฟ โมเรอ) ผู้บันทึกตำนานโปรมีธูสครั้งแรกคือ เฮสิโอด และต่อมาเป็นรากฐานของบทละครโศกนาฏกรรมไตรภาค ซึ่งคาดว่าเป็นของ Aeschylus ได้แก่ Prometheus Bound,Prometheus Unbound, และ Prometheus Pyrphoros
เรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานปรัมปรามีบทบาทอย่างมากกับวรรณกรรมกรีกในทุกสาขา ถึงกระนั้น หนังสือตำนานปรัมปราเพียงเล่มเดียวที่เหลือรอดมาจากยุคกรีกโบราณ ก็คือ Libraryของอพอลโลดอรัสเทียม งานชิ้นนี้พยายามไกล่เกลี่ยเรื่องราวที่ขัดแย้งกันระหว่างเรื่องเล่าต่างๆ ของบทกวีมากมาย และพยายามเรียบเรียงออกมาเป็นตำนานเทพเจ้าและวีรบุรุษกรีกในยุคดั้งเดิม[5] อพอลโลดอรัสมีชีวิตในช่วงปีที่ 180-120 ก่อนคริสตกาล และเขียนเรื่องราวเหล่านี้ขึ้นหลายชิ้น งานเขียนของเขาอาจจัดเป็นชุดที่ต่อเนื่องกัน แต่ "Library" นั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการเสียชีวิตของเขาเป็นเวลานาน ดังนั้นมันจึงได้ชื่อว่าเป็นของอพอลโลดอรัสเทียม